เมนู

9. อุปนิสสยปัจจัย


[1520] 1. อุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทิน-
นุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
สุขทางกาย เป็นปัจจัย แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย.
ทุกข์ทางกาย เป็นปัจจัย แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย.
อุตุ เป็นปัจจัย แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย, โภชนะ เป็นปัจจัย
แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย, สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เป็น
ปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[1521] 2. อุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทิน-
นุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยสุขทางกาย ให้ทาน
สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิด ยังวิปัสสนาให้เกิด ยังอภิญญา
ให้เกิด ยังสมาบัติให้เกิด ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
เข้าไปอาศัยทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์.

สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็น
อนุปาทินนุปาทานิยธรรม แก่ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ราคะ โทสะ โมหะ
มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[1522] 3. อุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปา-
ทินนอนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยสุขทาง
กาย ยังมรรคให้เกิด เข้าผลสมาบัติ.
บุคคลอาศัยทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ ยังมรรคให้เกิด เข้าผลสมาบัติ.
สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เป็นปัจจัยแก่มรรค แก่ผล-
สมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[1523] 4. อนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปา-
ทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็นอารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นอนุปาทินนุ-
ปาทานิยธรรม ให้ทาน สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิด ยัง
วิปัสสนาให้เกิด ยังอภิญญาให้เกิด ยังสมาบัติให้เกิด ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลาย
สงฆ์ ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.

บุคคลอาศัยศีลที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม สุตะ จาคะ ปัญญา
ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา อุตุ โภชนะ เสนาสนะ
แล้วให้ทาน ยังสมาบัติให้เกิด ฆ่าสัตว์ ทำลายสงฆ์ ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
ศรัทธาที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ราคะ
โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา อุตุ โภชนะ เสนาสนะ เป็น
ปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม แก่ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา
ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสย-
ปัจจัย.
บริกรรมแห่งปฐมฌาน เป็นปัจจัยแก่ปฐมฌาน ฯลฯ บริกรรมแห่ง
เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ.
ปฐมฌาน เป็นปัจจัยแก่ทุติยฌาน ฯลฯ อากิญจัญญายตนะ เป็น
ปัจจัย แก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ.
ปาณาติบาต เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ นิยตมิจฉาทิฏฐิ เป็น
ปัจจัยแก่นิยตมิจฉาทิฏฐิ.
[1524] 5. อนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทิน-
นุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นอนุปาทิน-
นุปาทานิยธรรมแล้ว ยังตนให้เดือดร้อน ให้เร่าร้อน เสวยทุกข์มีการแสวงหา
เป็นมูล.

บุคคลอาศัยศีลที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ฯลฯ เสนาสนะ ยังตน
ให้เดือดร้อน ให้เร่าร้อน เสวยทุกข์มีการแสวงหาเป็นมูล.
ศรัทธาที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่
สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
กุศลกรรมและอกุศลกรรม เป็นปัจจัยแก่วิบาก ด้วยอำนาจของอุป-
นิสสยปัจจัย.
[1525] 6. อนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปา-
ทินนอนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บริกรรมแห่งปฐมมรรค เป็นปัจจัย
แก่ปฐมมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
บริกรรมแห่งทุติยมรรค เป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค
บริกรรมแห่งตติยมรรค เป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค
บริกรรมแห่งจตุตถมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย.
[1526] 7. อนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุ-
ปาทินนอนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

ปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
ทุติยมรรค เป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค
ตติยมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค.
มรรค เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[1527] 8. อนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่
อุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ผลสมาบัติ เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[1528] 9. อนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่
อนุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
พระอริยะทั้งหลายอาศัยมรรค ยังสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เข้า
สมาบัติที่เกิดแล้ว พิจารณาสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
อนัตตา.
มรรคเป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา ธรรมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความฉลาดในฐานะและอฐานะ ของพระอริยะทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

10. ปุเรชาตปัจจัย


[1529] 1. อุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนุ-
ปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
พระเสกขะหรือปุถุชนพิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุนั้น
ราคะย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสย่อมเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับไปแล้ว
ตทารัมมณจิตอันเป็นวิบากย่อมเกิดขึ้น.
พระเสกขะหรือปุถุชนพิจารณา โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะที่เป็น
อุปาทินนุปาทานิยธรรม รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง
เพราะปรารภโสตะเป็นต้นนั้น ราคะย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสย่อมเกิดขึ้น
เมื่อกุศลและอกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตอันเป็นวิบากย่อมเกิดขึ้น
รูปายตนะที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ,
คันธายตนะ. . .รสายตนะ. . .โผฏฐัพพายตนะ ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่